ทักษะในการใช้และเก็บรักษาเครื่องมือวัด
เครื่องมือวัด (Measuring Tool) คือ เครื่องมือสำหรับใช้ในการวัดเพื่อบ่งชี้บอกระยะหรือขนาดในการกำหนดตำแหน่ง ตรวจสอบระยะหรือขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัสดุชิ้นงาน ฯลฯ เครื่องมือวัดมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่างที่แตกต่างกันตามประโยชน์ใช้สอบในทางช่างนั้น ๆ สำหรับเครื่องมือวัดที่ใช้ในทางช่าง ที่ตัวเครื่องมือวัดมีหน่วยมาตรฐานการวัดมีหน่วยเป็นนิ้ว ฟุตและหน่วยเมตริกกำกับไว้ในเครื่องมือวัดชนิดเดียวกันเพื่อสะดวกในการใช้ งาน ดังนั้น ช่างไม้หรือช่างก่อสร้างควรเรียนรู้เรื่องหน่วยมาตรฐานการวัดและเครื่องมือ วัดที่สำคัญ ดังนี้ • บรรทัดเหล็กหรือฟุตเหล็ก (Steel Rule) • ตลับเมตร (Tape Rule) • ฉาก (Squares)
• ระดับน้ำ (Level)
หน่วยการวัด ก่อนการใช้เครื่องมือวัด ผู้ใช้ต้องแน่ใจว่าสามารถอ่านค่าหน่วยต่าง ๆ ที่กำหนดไว้บนเครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้อง สำหรับหน่วยการวัดที่ระบุไว้ในเครื่องมือวัดที่ใช้ในงานช่างไม้ก่อสร้าง มีหน่วยการวัดแบ่งได้ 2 ระบบ ดังนี้ • ระบบเมตริก (Metric System of Measurement) • ระบบอังกฤษ (English System of Measurement)
ระบบเมตริก มีหน่วยการวัด ดังนี้ มิลลิเมตร ใช้อักษรย่อ มม. (mm.) ตัวอย่างเช่น 2 มม. อ่านว่า ความยาวสองมิลลิเมตร เซนติเมตร ใช้อักษรย่อ ซม.(cm.) ตัวอย่างเช่น 10 ซม. อ่านว่า ความยาวสิบเซนติเมตร เมตร ใช้อักษรย่อ ม. (m.) ตัวอย่างเช่น10 เมตร อ่านว่า ความยาวสิบเมตร หน่วยของการวัดในระยะความยาว 1 เซนติเมตร (10 มม.) และ (25.4 มิลลิเมตร = 1 นิ้ว)
ระบบอังกฤษ มีหน่วยการวัด ดังนี้
1. นิ้ว ใช้เครื่องหมาย ( ” ) ตัวอย่างเช่น 1 ” อ่านว่า ความยาวหนึ่งนิ้ว 2. ฟุต ใช้เครื่องหมาย ( ’ ) ตัวอย่างเช่น 4 ’ อ่านว่า ความยาวสี่ฟุต
การอ่านค่าระบบนิ้ว
หลักการแบ่งสเกลของระบบอังกฤษ มี 4 แบบคือ
1 นิ้วแบ่งเป็น 8 ช่อง
1 ช่องเท่ากับ เศษ 1 ส่วน 8 นิ้ว
ระยะ ก อ่านได้ เศษ 13 ส่วน 16 นิ้ว
ระยะ ข อ่านได้ 1 เศษ 1 ส่วน 16 = 1 นิ้ว ครึ่งหุน
ระยะ ค อ่านได้ 1 เศษ 7 ส่วน 16 = 1 นิ้ว 3 หุนครึ่ง
ระยะ ง อ่านได้ 2 เศษ 5 ส่วน 8 นิ้ว = 2 นิ้ว 5 หุน
1 นิ้วแบ่งเป็น 32 ช่อง
1 ช่องเท่ากับ 1 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ก อ่านได้ 3 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ข อ่านได้ 9 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ค อ่านได้ 1 เศษ 11 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ค อ่านได้ 1 เศษ 11 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ง อ่านได้ 2 เศษ 4 ส่วน 32 นิ้ว เท่ากับ 2 เศษ 1 ส่วน 8 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว 1 หุน
ตัวอย่างการอ่านสเกลการวัดจากเครื่องมือวัด
การวัดความยาวเป็นนิ้วเป็นระบบอังกฤษ ปัจจุบันบ้านเราใช้ระบบ Metric หรือระบบ SI ที่วัดความยาวเป็นเมตร (มิลลิเมตร-เซนติเมตร) ผสมกันไป
หนึ่งนิ้วก็แบ่งเป็นแปดส่วน ..... 1/8 นิ้ว
ภาษาช่างบ้านเรา ... เรียก 1 หุน = 0.125 นิ้ว = 3.175 มิลลิเมตร 1/4 นิ้ว ก็คือ 2/8 ... เรียก 2 หุน 3/8 นิ้ว ................ เรียก 3 หุน 1/2 นิ้ว ............... เรียก 4 หุนบ้าง ครึ่งนิ้วบ้าง จากนั้น ก็ไปถึง 5 หุน 6 หุน 7 หุน ไม่มี 8 หุน เพราะ 8/8 = 1 นิ้ว ก็เรียก 1 นิ้ว ย่อยครึ่งของ 1/8 ไปที่ 1/16 ก็เรียก.................. ครึ่งหุน ถ้าย่อยครึ่งของ 1/16 ไปที่ 1/32 เรียก ............. หลี ครึ่งหุนหลี ก็คือ 3/32 นิ้ว
1. ไม้บรรทัดเหล็กหรือฟุตเหล็ก ใช้สำหรับวัดระยะสั้น ๆ และขีดเส้น
2. ตลับเมตร ใช้สำหรับวัดระยะ ลักษณะเป็นตลับสี่เหลี่ยมขนาดพอจับมือ ตัวตลับทำด้วยโลหะหรือพลาสติก ส่วนแถบวัดทำด้วยเหล็กบางเคลือบสี ปลายของแถบวัดมีขอเกี่ยวเล็ก ๆ ติดอยู่
การใช้ตลับเมตร
1. มือหนึ่งจับปลายเทปแล้วดึงออกจากตลับ
2. ใช้ขอปลายเทปเกี่ยวหัวไม้ที่ตรงและได้ฉาก
3. ทำเครื่องหมายตามระยะที่ต้องการ
การบำรุงรักษา
1. ระวังรักษาขอเกี่ยวปลายเทปไม้ให้หัก
2. เมื่อปล่อยเส้นเทปกับที่เดิมค่อย ๆ ผ่อน ถ้าปล่อยให้กลับเร็วเกินไปปลายขอที่เกี่ยว และคอยใช้มือประคองเส้นเทปก่อนที่ขอเกี่ยวจะไปกระทบกับตัวตลับ ซึ่งจะทำให้ขอเกี่ยวหลุดหรืคลาดเคลื่อนและอาจชำรุดเสียหาย
3. การใช้ตลับเมตรที่ถนอมคือต้องไม่ดึงสายวัดออกมาจนสุด
4. ทำความสะอาดหลังเลิกใช้แล้วเก็บให้เป็นระเบียบ
ทั้งนี้เราจะนำตลับเมตรไปวัดอะไรก็ได้ตามแต่เราต้องการ ขนาดที่นิยมใช้คือยาว 3.5 เมตร
3. ฉาก เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่ใช้ทางตรงหรือตั้งได้ฉากของงาน รวมทั้งการวัดมุมต่าง ๆ ฉากมีหลายชนิด
3.1 ฉากเหล็ก หรือฉากตาย (Try Square)
คือเครื่องมือที่ใช้เพื่อวัดขนาดการสร้างมุมฉาก ตรวจสอบการได้ฉากของงานชนิดต่าง ๆ หรือใช้วัดขนาดความกว้าง ยาว ลึกของชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ใบฉาก และด้ามฉาก โดยทั้ง 2 ส่วนยึดติดกันเป็นมุม 90 องศา ความยาวของใบฉากมีตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป ซึ่งเป็นขนาดที่นิยมใช้ ที่ใบฉากทั้งสองด้านทุกขนาดมีมาตรส่วนเป็นนิ้ว และเซนติเมตร บอกกำกับไว้ วิธีการใช้งาน การใช้ฉากในงานช่างสามารถใช้งานในลักษณะงานดังต่อไปนี้ 1. ใช้ในการวัดขนาด ฉากมีด้านทั้งสองของใบมีมาตราส่วนเป็นนิ้ว และเซนติเมตรกำกับไว้ฉะนั้นในการใช้ฉากวัดขนาดความกว้างยาวของงาน ใช้วิธีการวัดการวัดขนาดความกว้าง ยาวเหมือนกับการวัดด้วยไม้เมตร หรือตลับเมตร 2. ใช้ในการขีดเส้นฉาก เพราะฉากเหล็กมีลักษณะการประกอบเป็นมุมฉากอยู่แล้ว ดังนั้นการนำด้ามฉากไปแนบกับขอบที่เรียบชิ้นงานใด ทิศทางของใบฉากย่อมทำมุมได้ 90 องศาเสมอ ดังนั้นในการตัดไม้ให้ได้ฉากกับแนวข้างลำตัวไม้ เมื่อนำฉากมาแนบ การขีดเส้นตามแนวของใบฉากคือเส้นที่บอกให้ทราบถึงแนวตัดหัวไม้ได้ฉากเสมอ 3. การใช้ฉากเหล็กเพื่อตรวจสอบมุม 90 องศาของชิ้นงาน เป็นการตรวจสอบโดยนำฉากเหล็กไปแนบในจุดที่ตรวจสอบ แต่การตรวจสอบได้ความเที่ยงตรงมากน้อยแค่ไหนต้องตรวจสอบฉากก่อน
การบำรุงรักษา 1.วางฉากลงบนโต๊ะปฏิบัติงานเบา ๆ และอย่างระมัดระวังเมื่อนำฉากเหล็กไปใช้ในแต่และครั้ง 2.ไม่ควรนำฉากเหล็กไปใช้งานลักษณะอื่น ที่นอกเหนือจากการวัด ขีดเส้น ตรวจสอบมุม วัดขนาดความยาวชิ้นงาน 3.ไม่ควรใช้ฉากในการดัน ที่จะเป็นผลให้จุดการยึดใบฉากกับด้ามฉากยึดกันไม่แน่น ยกเว้นเป็นการทำเพื่อดัดฉากให้ได้ 90 องศา 4.ทำความสะอาดฉากให้ปราศจากฝุ่นและทราย ก่อนเช็ดด้วยน้ำมันเครื่อง เพื่อกันสนิท 5. ไม่ใช้ด้ามฉากเคาะหรือตอกแทนค้อน
6. ระมัดระวังอย่าให้ฉากตกลงพื้นเพราะจะทำให้ฉากคลาดเคลื่อนจากความเที่ยงตรง
7.เก็บฉากไว้ในที่เรียบ ไม่วางทับซ้อนกับเครื่องมือชนิดอื่น ซึ่งจะมีผลเสียต่อฉากจะบิดงอได้
ฉากตาย
3.2 ฉากเป็น (Bevel Gauge) ใช้วัดมุมต่าง ๆ นอกจากมุม 90 องศา 45 องศา สามารถถอดแยกจากกันได้ ลักษณะเป็นด้ามไม้และพลาสติก และมีส่วนที่เป็นโลหะแบน หรือเรียกว่า ใบฉาก ยึดด้วยสกรูที่สามารถเป็นจุดหมุนในการวัดมุม สำหรับการตัดชิ้นงานไม้ บัวไม้ ไม้เข้ามุม เดือยไม้ และวัดองศาตามความต้องการ ความพิเศษของเครื่องมือช่างชนิดนี้ คือ สามารถวัดมุมได้เป็นองศาและสามารถแบ่งวงกลมออกเป็น 180 ส่วน สร้างมุม 360 องศา 90 องศา หรือ 1 ใน 4 ของวงกลมได้ด้วยเช่นกัน การใช้งานฉากเป็นให้เริ่มจากการหามุม จุดตัด หรือจุดยอดของมุมที่ต้องการวัด จากนั้นให้คลายสกรูที่ฉากเป็นแล้วเลื่อนส่วนใบฉาก เพื่อให้สามารถกดด้ามให้แนบกับข้างหนึ่งของมุม และให้ใบฉากแนบกับอีกด้านหนึ่งได้ จับด้ามและใบฉากให้แนบกับมุมตัวอย่างนั้น ขันสกรูให้แน่น นำฉากเป็นมาที่ชิ้นงานที่ต้องการนำเข้าไปติดตั้ง วางส่วนด้ามให้แนบกับด้านหนึ่ง แล้วลากเส้นไปตามขอบขอบใบฉาก เพื่อสร้างมุมที่มีขนาดเท่ากับมุมต้นแบบได้อย่างสมบูรณ์
ฉากเป็น
3.3 ฉากปรับองศา
ใช้วัดมุมต่าง ๆ นอกจากมุม 90 องศา 45 องศา ลักษณะเป็นโลหะแบน ใบฉาก ยึดด้วยสกรูที่สามารถเป็นจุดหมุนในการวัดมุม และใช้ควบคู่กับเครื่องมือช่างที่ใช้ไฟฟ้าในการตัดชิ้นงาน และวัดองศาตามความต้องการ ความพิเศษของเครื่องมือช่างชนิดนี้ คือ สามารถวัดมุมได้เป็นองศาและสามารถ สร้างมุม 30 องศา ถึง 150 องศา
4. ระดับน้ำ (Level)
ระดับน้ำ ใช้สำหรับวัดพื้นผิวว่าได้ระดับหรือไม่ มีหลอดแก้ว 3 หลอดวางไว้ตั้งฉากกัน และทแยง 45 องศา ลักษณะของเครื่องมือชนิดนี้จะเป็นอะลูมิเนียมหรือพลาสติก ยาวประมาณหนึ่งศอก มีช่องใส ๆ หลายช่อง แต่ละช่องจะมีหลอดแก้ว ที่มีของเหลวที่มีสีอยู่ข้างใน ในของเหลวนั้นจะมีฟองอากาศขนาดเท่าเมล็ดถั่ว เมื่อลองขยับระดับน้ำดู จะสังเกตเห็นว่าฟองอากาศนั้นจะเคลื่อนที่ไปด้วย ซึ่งระดับน้ำนั้นมีอยู่หลายขนาด โดยส่วนใหญ่ใช้ขนาด 24 นิ้ว (60 เซนติเมตร) ใช้ขนาด 4 ฟุต(1.2 เมตร) หรือ 6 ฟุต (1.8 เมตร) สำหรับประตูและหน้าต่าง ระดับน้ำแบบที่มีตาวัว (แป้นวงกลม) ใช้แสดงทิศทางของการเอียง การใช้งานเครื่องมือช่างดังกล่าวให้ดูที่ระดับน้ำ ว่าหลอดแก้วหลอดไหนใช้วัดระดับในแนวราบและหลอดไหนวัดแนวดิ่ง วางระดับน้ำลงบนพื้นผิวที่ต้องการตรวจสอบ ดูที่ฟองอากาศ ถ้าฟองอากาศลอยไปอยู่ที่ตรงกลางของหลอดแก้วแสดงว่าพื้นได้ระดับในแนวราบแล้ว แต่ถ้าฟองอากาศไม่อยู่ตรงกลาง แสดงว่าพื้นเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ถ้าต้องการรู้ว่าเอียงทางใดและเอียงมากแค่ไหน ให้ลองยกปลายของระดับน้ำขึ้นด้านหนึ่ง แล้วดูว่าฟองอากาศเลื่อนไปทางไหน เมื่อฟองอากาศอยู่ตรงกลาง จะเห็นว่ามีช่องว่างระหว่างพื้นกับขอบของระดับแล้ว จะเห็นว่าเอียงมากเพียงใด หากพื้นได้ระดับแนวราบแล้ว ให้หมุนระดับน้ำไปที่ 90 องศา แล้วตรวจดูอีกครั้ง จะพบว่าพื้นอาจจะได้ระดับในด้านหนึ่ง แต่เอียงในอีกด้านหนึ่ง ถ้าพื้นได้ระดับจริง ๆ ในทุกทิศทาง ฟองอากาศจะต้องอยู่ตรงกลางหลอดแก้วเสมอ ไม่ว่าจะหมุนระดับน้ำไปทางใดก็ตาม
เทคนิคการใช้ไม้บรรทัดวัดและการวัด
การใช้เครื่องมือประเภทวัด ชนิดต่างๆ นั้นมีเทคนิคและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันตามลักษณะงานดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
หากต้องการตีเส้นที่คมและเส้นเล็ก ควรเลือกใช้ดินสอที่เหลา ปลายแหลมหรือใช้เหล็กแหลม สำหรับงานที่ต้องการความละเอียด
ขั้นตอนที่ 2
การขีดเส้นตามแนวของไม้บรรทัด จะต้องกดให้ไม้บรรทัดหรือเหล็กพุกนั้น แนบกับผิว ของชิ้นงานโดยกดไม้บรรทัดด้วยนิ้วให้แน่นแล้วจึงขีดเส้น แนบกับ บรรทัดตามแนว ตั้งฉากกับชิ้นงาน
ขั้นตอนที่ 3
การแบ่งส่วนของหน้าไม้ให้เท่ากัน นั้นสามารถจัดระยะได้ด้วยการทาบ ไม้บรรทัดลง ตามหน้าไม้ ขยับให้ได้ตัวเลขที่จำนวนเต็มพอดี ตามที่เราต้อง การแบ่งส่วน แล้วจึงทำ เครื่องหมายระยะที่หารลงตัวก็จะได้ช่องไฟที่เท่ากัน
ขั้นตอนที่ 4
หากต้องการขีดเส้นให้ใด้ฉากในงานเฟอร์นิเจอร์ การขีดเส้นบนไม้นั้นจะใช้ฉากทาบกับ ส่วนหนาของหน้าไม้ให้สนิทกัน จะขีดได้เส้นที่ตั้งฉากกับไม้
ขั้นตอนที่ 5
การตรวจสอบดูว่าไม้ที่กำลังใช้อยู่นั้น ได้ฉากตามที่ต้องการหรือไม่ / ต้องการตรวจดูว่าไม้นั้นเรียบเท่ากันทั้งแผ่นหรือไม่ สามารถใช้ฉากนั้นทาบกับตัวไม้วัดดูในการวัดนั้นให้ขอบของฉากวัดแนบสนิทกับไม้อีกด้านหนึ่ง ส่องผ่านแสงดูว่ามีช่องว่างอยู่ตรงไหน นั้นคือส่วนที่เกินออกมาไม่ได้ฉาก และไม่เรียบต้อง ไสออก
ขั้นตอนที่ 6
วิธีการขีดเส้นให้ห่างจากขอบเท่ากันนั้น สามารถทำได้ด้วยการใช้ฉากแบบปรับระยะได้วัดขนาดของเส้นขอบที่ต้องการขีด แล้วลากเส้นตามขนาดที่ทำ เครื่องหมายไว้ โดยให้ขอบของฉากแนบกับหน้าไม้
ขั้นตอนที่ 7
ฉากประเภทปรับมุมมีขนาดองศาบอก ความเอียงนั้นเหมาะสำหรับการทำงานประเภท วัดมุมของชิ้นไม้ ในกรณีไม่เป็นมุมฉาก หรือใช้สำหรับการร่างแบบ
ขั้นตอนที่ 8
ฉากปรับมุมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถที่จะปรับให้ไม้ฉากนั้นทำมุมนอกจากมุมฉาก(90องศา) ได้ด้วยการ หมุนคลายล็อคที่จุดหมุน แล้วเอียงตัวไม้บรรทัดให้เอียงตาม มุมที่ต้องการแล้วจึงหมุนล็อคก่อนนำไปขีดเส้นมุมนั้นๆ
ขั้นตอนที่ 9
การกำหนดขนาดความกว้างของรูเดือยที่จะนำมาเจาะทำเดือยเฟอร์นิเจอร์ สามารถทำได้ด้วยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ขอขีดไม้ โดยนำสิ่วที่เจาะรู เดือยมาทาบความกว้างของหน้าสิ่ว ปรับตั้งให้เข็มขีดเส้นใหญ่กว่าเล็กน้อย แล้วจึงค่อยหมุนล็อค ส่วนการนำไปใช้งานให้ทาบส่วนที่เรียบเข้ากับหน้าไม้
5. ขอขีดไม้ (Marking Gauge)
ขอขีดไม้ เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับการสร้างรอยขีดที่ขนานกับขอบนชิ้นงาน ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ขีดชิ้นงานอื่นๆ ให้มีขนาดเท่ากันได้หลายชิ้น เครื่องมือชนิดนี้มีลักษณะเป็นชิ้นไม้ที่ตั้งฉากกัน ส่วนปลายมีโลหะแหลมที่เรียกว่า ขา (Beam) ต่อยื่นออกมา ชิ้นไม้ชิ้นที่สองเราเรียกว่าส่วนหัว ซึ่งจะมีสกรูแบบที่มีหางปลาติดอยู่ เมื่อคลายสกรูออก จะสามารถเลื่อนตำแหน่งของหัวไปบนขาได้ แต่ถ้าขันสกรูให้แน่น ก็จะเป็นการล็อคตำแหน่งนั่นเอง การใช้งานเครื่องมือช่างชนิดนี้ เริ่มด้วยการคลายสกรู และเลื่อนส่วนหัวของขอขีดให้ได้ตามระยะที่ต้องการ แล้วจึงขันสกรู ถือขอขีดที่ส่วนหัวให้ส่วนของขาอยู่ในแนวระดับ และเริ่มทำการขีดจากปลายด้านที่อยู่ไกลก่อน กดให้หน้าของหัวขอขีดแนบอยู่กับขอบไม้ แล้วบิดส่วนหัว เพื่อให้ปลายแหลมของขอขีดแตะกับไม้ โดยที่ยังคงให้ส่วนหัวแนบอยู่กับชิ้นงาน และดึงขอขีดเข้ามาหาตัว สุดท้ายตรวจสอบดูชิ้นงานว่าได้รอยขีดตามที่ต้องการหรือไม่
ประโยชน์ของขอขีดไม้
ขอขีดไม้ จะช่วยทำครื่องหมาย วัดได้รวดเร็วและแม่นยำ โดยการขีดเครื่องหมายบรรทัดขนานไปที่ขอบของชิ้นงานไม้ ซึ่งขอขีดไม้นี้ยังมีประโยชน์มากกว่าดินสอไม้ในแง่ที่มีปลายเหล็กแหลมเป็นตัวช่วยทำตำแหน่งได้ชัดเจน
การใช้ขอขีด
คลายสลักหรือลิ่มออก แล้ววัดระยะห่างจากปลายเข็มกับด้ามให้ขนานตามที่แบบกำหนดแล้วล๊อคให้แน่น จับขอขีดด้านที่มีเข็มให้แนบสนิทกับไม้ กดดันไปข้างหน้า ให้ปลายเข็มขีดผิวไม้ ตลอดแนวที่ต้องการ
การบำรุงรักษา
1. ควรทำความสะอาดหลังใช้
2. ทาน้ำมันส่วนที่เป็นโลหะ
3. เก็บให้เรียบร้อย
ศึกษาข้อมูลภาพประกอบได้ที่ >>> http://www.sinudom.com/do_it.php
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น