วิธีการเลือกซื้อ ประแจ ที่เหมาะสมประจำบ้าน

ไม่มีความคิดเห็น

วิธีการเลือกซื้อ ประแจ ที่เหมาะสมประจำบ้าน

วิธีการเลือกซื้อ ประแจ ที่เหมาะสมประจำบ้าน

วิธีการเลือกซื้อประแจที่เหมาะสมประจำบ้าน


ประแจมีหลายประเภท เช่น ประแจเลื่อน, ประแจคอม้า, ประแจแหวนข้าง, ประแจหกเหลี่ยม ซึ่งประแจเป็นเครื่องมือช่างพื้นฐานที่ควรมีไว้ประจำบ้านในเวลาฉุกเฉิน
  • งานประปา ในบ้านทุกบ้านจะมีระบบประปาอยู่ตั้งแต่ห้องน้ำ ห้องครัว ในสวน โดยประแจที่ใช้งานกับอุปกรณ์ประปา คือ ประแจเลื่อน (adjustable wrench) ขนาด 8” 10”, ประแจล๊อคขนาด 7” 10” และประแจจับแป๊ป (pipe wrench) โดยส่วนใหญ่ไว้ใช้ในการเปลี่ยนก้อกน้ำ, ท่อน้ำ, หรืออื่นๆ
ประแจจับแป๊ป Pipe wrench
  • อุปกรณ์อิเล็คโทรนิค ส่วนใหญ่จะใช้ไขควง แต่บางครั้งอาจมีน๊อตและแหวนเป็นตัวล๊อค ดังนั้นประแจเลื่อนขนาดเล็ก 4” 6” และประแจแหวนข้าง ตั้งแต่เบอร์ 6-18 ก็สามารถใช้งานได้อย่างเหมาะสม รวมถึงประแจหกเหลี่ยมแบบชุดเช่นกัน
ประแจเลื่อน Adjustable wrench
  •  รถยนต์ มอเตอร์ไซด์ อาจใช้ประแจแหวน หรือประแจปากตายแบบชุด ร่วมกับประแจเลื่อน และอุปกรณ์อื่นๆ สำหรับขนาดนั้น คงจะขึ้นอยู่กับรถแต่ละคันว่าเหมาะสมกับแบบใดเป็นพิเศษเพิ่มเติม เช่น ชุดสำหรับถอดหัวเทียนมอเตอร์ไซด์เป็นต้น
ดังนั้นควรเลือกให้เหมาะสม โดยมีหลายยี่ห้อในตลาด ที่จัดชุดประแจพร้อมเครื่องมือช่างพื้นฐานอื่นๆ เช่น Stanley อ่านเพิ่มเติม โดยท่านสามารถเลือกซื้อในลักษณะนี้ได้เช่นกัน


ดูสินค้าของเรา :www.payarad.com
บริษัท มาการ จำกัด
88/8 หมู่4 ซอยแผ่นดินทอง ตำบลบางน้ำจืด, สมุทรสาคร 74000
เว็บไซต์: http://www.makarngroup.com/
            : http://www.payarad.com/
Line     : makarn.social
090-5588-566
090-5569-200

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

เลื่อยตัดเหล็ก

ไม่มีความคิดเห็น
เลื่อยตัดเหล็ก
เลื่อยตัดเหล็ก คือ เครื่องมือที่ใช้ในการตัดเหล็ก ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นแถบยาว ปลายใบเลื่อยทั้ง ๒ ข้างติดกับปลายและโคนคันเลื่อย ทำด้วยเหล็กทั่วไป เลื่อยที่ผลิตจากเหล็ก HSS Steel ถือว่าเป็นเหล็กชนิดที่แข็งกว่าเหล็กธรรมดา และ Bi-metal steel เป็นเหล็กผสม 2 ชนิดคือ เหล็กสปริงและ HSS steel เพื่อให้เลื่อยมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
  • Bi-metal saw เป็นเหล็กที่ผสมจาก spring steel และ HSS steel เพื่อให้เลื่อยมีความยืดหยุ่นมากขึ้น ความยืดหยุ่นของใบเลื่อยจะสูงมากแตกหักยาก เหมาะกับการใช้งานในที่แคบๆ หรือโค้ง เมื่อแตกหักจะแตกเป็น 2 ชิ้นเท่านั้น ไม่แตกกระจายแบบใบเลื่อยจาก HSS จึงทำให้ปลอดภัยสำหรับผู้ใช้งาน แต่มีราคาสูงกว่าใบเลื่อย HSS ทั่วไปอาจจะ 2-3 เท่าหรือประมาณ 35-70 บาทสำหรับเลื่อยมือ ยี่ห้อที่เป็นอันดับหนึ่งในประเทศไทยคือ Bahco Sanflex หรือใบเลื่อยปลาเบ็ดสีส้มจากประเทศสวีเดน มีทั้งแบบ 18, 24, 32 ฟัน
bahco sandflex saw
  • HSS Saw หรือ High-Speed Steel Saw เป็นวัสดุที่ใช้ในการผลิตเครื่องมือต่างๆมากมาย เช่น งานกลึง และใบเลื่อย ข้อดีของ HSS Saw คือ อายุการใช้งานนาน ฟันแข็งแรง ใช้งานได้แพร่หลาย ราคาถูกประมาณ 20 – 40 บาท  ยี่ห้อที่เป็นอันดับ 1 ของใบเลื่อยไฮสปีดคือ ใบเลื่อย Eclipse อยู่ในตลาดมานานกว่า 50 ปี หาซื้อง่าย ราคาไม่แพงคุณภาพดี eclipse มีผลิตสินค้ามากมายไม่ใช่เพียงแต่ใบเลื่อยเท่านั้น สามารถดูได้ตามร้าน hardware ทั่วไป
 
    • Carbide Saw ฟันเลื่อยจะผลิตจากคาร์ไบด์ และส่วนอื่นอาจผลิตจาก Spring steel หรือ HSS Steel โดยจะไม่ใช่คาร์ไบด์ทั้งตัว เพราะคาร์ไบด์ราคาสูงจึงนำมาใช้ผลิตเฉพาะบริเวณฟันเลื่อยเท่านั้น ใช้งานกับเครื่องจักรเป็นส่วนใหญ่สามารถตัดเหล็กที่มีความแข็งสูงๆได้ และใช้ความเร็วในการทำงานสูงๆเท่านั้น ส่วนใหญ่พบได้ใน Carbide band saw หรือ เลื่อยเจาะรู (carbide hole saw) สำหรับงานเฉพาะทาง รูปด้านล่างเป็นเลื่อยเจาะรู Starrett
เลื่อยเจาะรู starrett

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

เหล็กลวดเชื่อม

ไม่มีความคิดเห็น
เหล็กลวด คืออะไร?
           เหล็กลวด (Wire rod) คือ ผลิตภัณฑ์เหล็กรูปทรงยาวที่ผลิตมาจากการรีดร้อนเหล็กแท่ง (billet)   ลักษณะหน้าตัดของเหล็กลวดมีได้ทั้งแบบกลม (round) สี่เหลี่ยม (square) หกเหลี่ยม (hexagonal) ฯลฯ ขึ้นอยู่กับลักษณะของการใช้งาน   โดยทั่วไป เหล็กลวดจะนำไปผลิตต่อด้วยการดึงเย็น (cold drawn) เพื่อผลิตเป็นลวดเหล็กกล้า (steel wire) ที่มีผิวเรียบขึ้น สำหรับนำไปใช้ในงานต่างๆ ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่อไป เช่น ผลิตตะปู ตะแกรง น็อต สกรู ลวดเชื่อม ลวดเสริมยางรถยนต์ เป็นต้น

                เหล็กลวดสามารถแบ่งตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ปลายทางได้เป็น 6 กลุ่มดังต่อไปนี้
1.    เหล็กลวดสำหรับผลิตลวดเหล็กใช้งานทั่วไป (General use) 
           เหล็กลวดกลุ่มนี้เป็นเหล็กลวดคาร์บอนต่ำ (JIS G3505; SWRM) ซึ่งจะนำไปผ่านกระบวนการดึงเย็นเพื่อลดขนาดจากเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5.5-19 มม ให้เหลือ 0.1-18 มม. เพื่อผลิตเป็นลวดเหล็กคาร์บอนต่ำ (JIS G3532; SWM) แล้วนำไปชุบสังกะสีเพื่อป้องกันการเกิดสนิม (หรืออาจไม่ชุบก็ได้)     จากนั้นจึงนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป เช่น นำไปทุบหัวและทำคมสำหรับผลิตตะปู (Nail) หรือ นำไปทำการเชื่อมเพื่อผลิตตะแกรงลวดเหล็กกล้าเสริมคอนกรีต (Wire mesh) ตะแกรงลวด (Sieve Screen) ลวดหนาม (Barbed wire) และรั้วที่ทำจากลวดเหล็ก (Wire fence)
2.    เหล็กลวดสำหรับผลิตลวดเชื่อม (Welding wire) 
           เหล็กลวดกลุ่มนี้ ได้แก่ JIS G 3503 เกรด SWRY 11 (คาร์บอนสูงสุด 0.09%) และ SWRY 21 (คาร์บอน 0.10-0.15%)ซึ่งเกรดที่ใช้ส่วนใหญ่คือ SWRY 11 โดยนำไปดึงเย็นเพื่อผลิตเป็นลวดเหล็กกล้าสำหรับใช้ผลิตลวดเชื่อม ซึ่งมีอยู่ 2 กลุ่ม คือ Metal Inert Gas (MIG) และ Cover Electrode ลักษณะสำคัญของเหล็กลวดในกลุ่มนี้ต้องมีปริมาณสารมลทินต่ำ ความสม่ำเสมอของส่วนผสมทางเคมีที่สูงและต้องควบคุมปริมาณซัลเฟอร์ ให้ไม่เกิน 0.023% (JIS Handbook : Ferrous Material & Metallurgy II 2001, Japanese Standards Association)
3.    เหล็กลวดสำหรับผลิตสลักภัณฑ์ (Fastener) 
           เหล็กลวดกลุ่มนี้มีการใช้งานหลากหลายมาก โดยนำไปดึงเย็นแล้วขึ้นรูปเย็นเป็นชิ้นงานที่อุณหภูมิห้อง โดยจะทำให้ส่วนหัวมีขนาดใหญ่กว่าส่วนอื่นๆ หลังจากนั้นอาจนำไปทำการชุบสังกะสีเพื่อเพื่อป้องกันการเกิดสนิม (หรืออาจไม่ชุบก็ได้)     เหล็กลวดที่นำมาผลิตต้องมีโครงสร้าง และส่วนผสมที่สม่ำเสมอ  ปริมาณสารมลทิน (inclusion) ต่ำ เพื่อให้มีความสามารถในการดึงขึ้นรูปเย็นที่ดี โดยมีอัตราการลดขนาดที่สูง     ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญ ได้แก่ แป้นเกลียว (Nut) สกรู (Screw) สลัก (Bolt) หมุดเหล็ก (Rivet) หมุด (Pin) พรุกฝังปูน (Anchor) ตาปูหัวใหญ่ (Stud) ปลอก (Sleeve) ซึ่งมีการใช้งานมากในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล และโครงสร้างงานเหล็กต่างๆ

           เหล็กลวดที่ใช้ได้เแก่ เหล็กลวดคาร์บอนสำหรับงานทุบขึ้นรูปเย็น (JIS G 3507; SWRCH) โดยมีปริมาณคาร์บอนไม่เกิน 0.50% กลุ่มเหล็กลวดสำหรับผลิตสลักภัณฑ์สามารถแบ่งกลุ่มตามส่วนผสมได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
           - SWRCH6R-17R Rimmed Steel ซึ่งกระบวนการผลิตจะทำการหล่อเป็นเหล็กแท่งใหญ่ (Ingot) และทำการรีดเพื่อลดขนาดเป็นเหล็กแท่งเล็กและทำการผลิตเป็นเหล็กลวดต่อไป ลักษณะผลิตภัณฑ์จะมีคุณสมบัติในการลดขนาดได้ง่าย
           - SWRCH6A-22A Aluminium killed Steel โดยกระบวนการกำจัดออกซิเจนในเหล็กในขั้นตอนการผลิตเหล็กกล้าจะใช้อลูมิเนียมในการรวมตัวกับออกซิเจนซึ่งต่างจาก Killed Steel ที่ใช้ Si ในการกำจัดออกซิเจนเนื่องจาก Si มีผลในการลดคุณสมบัติในการลดขนาด
           - SWRCH10K-50K Killed steel ใช้ Si ในการกำจัดออกซิเจนเนื่องจาก Si มีผลในการลดคุณสมบัติในการลดขนาด จึงมีความเหมาะสมสำหรับกระบวนการมีเปอร์เซ็นต์การลดขนาด (Reduction) ไม่มาก
4.    เหล็กลวดสำหรับนำไปผลิตลวดเหล็กคาร์บอนสูงสำหรับงานก่อสร้าง 
           เหล็กลวดกลุ่มนี้ได้แก่ เหล็กลวดคาร์บอนสูง ซึ่งจะนำไปดึงเย็นเพื่อผลิตเป็นลวดเหล็ก 3 กลุ่ม คือ
           - ลวดเหล็กกล้าคาร์บอนสำหรับคอนกรีตอัดแรงชนิดเส้นเดี่ยว (Steel wire for prestressed concrete) จะทำหน้าที่ในการเสริมแรงในคอนกรีต เช่น ใช้ในการทำหมอนคอนกรีตรถไฟ เป็นต้น
           - ลวดเหล็กกล้าคาร์บอนสูงสำหรับคอนกรีตอัดแรงชนิดตีเกลียว (PC Strand) จะนำไปตีเกลียวเพื่อใช้ในงานคอนกรีตอัดแรงขนาดใหญ่
           - เชือกลวดเหล็กกล้า (Wire rope) ซึ่งจะนำลวดเหล็กไปตีเกลียวจนกลายเป็นเชือกลวด สำหรับนำไปใช้ทำ cable และงานลวดด้านต่างๆ
5.    เหล็กลวดสำหรับนำไปผลิตสปริง
           เหล็กลวดกลุ่มนี้ ได้แก่ เหล็กลวดคาร์บอนสูง และเหล็กลวดเปียโนซึ่งจะนำไปดึงเย็นเพื่อผลิตเป็นลวดเหล็ก 2 กลุ่ม คือ
           - Hard drawn steel wires (JIS G 3521; SW-B, C) และ Oil tempered wire for mechanical springs (JIS G 3560; SWO-A, B) โดยผลิตจากเหล็กลวดคาร์บอนสูง
           - Piano wire (JIS G 3522; SWP_A, B, V) และ Oil tempered wire for valve springs (JIS G 3561; SWO-V) โดยผลิตจากเหล็กลวดเปียโน

           สิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงสำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ คือ ส่วนผสมทางเคมีที่มีถูกต้อง และมีปริมาณสารมลทินต่ำ   นอกจากนี้ต้องไม่มีรอยตำหนิ หรือข้อบกพร่องที่ผิว เนื่องจากจะมีผลต่อคุณสมบัติเชิงกลในการใช้งานอย่างมาก

           สปริงที่ผลิตได้มีอยู่ด้วยกัน 3 แบบ คือ สปริงที่ให้แรงเมื่อเกิดแรงอัด (Compression spring) สปริงที่ให้แรงเมื่อเกิดแรงดึง(Tensile spring) และสปริงที่ให้แรงเมื่อเกิดแรงบิด (Torsion spring) โดยสปริงเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในงานต่างๆ เช่น สปริงในส่วนประกอบของรถยนต์  เครื่องจักรต่างๆ เครื่องใช้ไฟฟ้า  เตียงนอน ฯลฯ เป็นต้น
6.    เหล็กลวดสำหรับนำไปผลิตลวดเหล็กเสริมยางรถยนต์ 
           เหล็กลวดกลุ่มนี้ ได้แก่ เหล็กลวดเปียโน ที่ถูกนำไปดึงเย็นหลายขั้นตอน เพื่อให้ได้ลวดเหล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางในช่วง 0.15-0.38 มม. ซึ่งจะนำไปผลิตต่อเป็น Bead Wire สำหรับช่วยยึดโครงสร้างของยาง และ Tyre Cord สำหรับเสริมหน้ายางเพื่อเพิ่มความสามารถในการรับแรง ซึ่งใช้ในงานผลิตล้อรถต่างๆ รวมถึงล้อเครื่องบินด้วย และในชั้นคุณภาพที่รองลงมาสามารถใช้ในงานในการเสริมความแข็งแรงในวัสดุยางอื่นฯ เช่น ท่อยางไฮโดรลิกแรงดันสูง สายพานยางขนาดใหญ่ เป็นต้น

           ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ต้องผ่านการดึงขึ้นรูปสูง และต้องการความแข็งแรงสูงมาก ดังนั้นจึงต้องการเหล็กลวดคาร์บอนสูง และต้องมีความสะอาดสูงมาก โดยทั้งธาตุผสมตกค้าง และสารมลทินในปริมาณที่ต่ำมาก และคุณภาพผิวของเหล็กลวดต้องดีมากเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างการดึงเย็น


สามารถสั่งซื้อได้ที่  www.payarad.com



090-5569-200
090-5588-566
ID-line> makarn.social
Twitter: @makarngroup
เว็บไซต์: http://www.payarad.com/
หรือสอบามได้ที่ เพสบุ๊คแนเพจ:https://www.facebook.com/makarn.hardware

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

การเลือกใช้ ใบตัด ให้ถูกประเภทของงาน

ไม่มีความคิดเห็น

1.แผ่นตัดสำหรับโลหะทั่วไปทุกชนิด
ผลิตจากเม็ดทราย อลูมินั่มออกไซด์ มีแผ่นใยไฟเบอร์กลาสป้องกันการบิดตัวของแผ่นตัดตรงกลางใน 1 ชิ้น



2.แผ่นตัดใย 2 หน้า สำหรับโลหะทั่วไปทุกชนิด
มีแผ่นใยไฟเบอร์กลาสห้องกันการบิดตัวของแผ่นตัด 2 ชั้น ผลิตจากเม็ดทรายอลูมินั่มออกไซด์ 

การเลือกใช้ใบตัดให้ถูกวิธี
ใบตัดเหล็ก พญาแรด  หรือแผ่นตัดไฟเบอร์ มีลากหลายขนาด มีตั้งแต่ 4 นิ้ว ขึ้นไป การใช้งานก็จะแตกต่างกันไป








-ใบตัด 4 นิ้ว เหมาะสำหรับ เอาไว้ตัดงานเหล็กชิ้นเล็ก ไม่เหมาะสำหรับกับงานชิ้นใหญ่เพราะจะทำให้แผ่นแตกง่ายอัตรายต่อผู้ใช้งาน
   
-ใบตัด 7 นิ้ว  เหมาะสำหรับงานกลาง และไม่ใหญ่มาก

-ใบตัดตัด 14-16 นิยมเอาไปใส่แท่นตัดเล็ก จะตัดได้ตั้งแต่งานเล็กๆจนไปถึงงานใหญ่ ที่เหมาะสมกับขนาดขนาดของใบตัด



หมายเหตุ การเลือกซื้อ ใบตัด 4 นิ้ว  ควรเลือก ใบตัดที่มีเสริมไฟเบอร์ 2 ชั้น เพราะแข็งแรงมีแรงยืดหยุนสูง กว่า ใบตัดที่เสริมไฟเบอร์ ชั้นเดียว และปลอดภัยแก่ผู้ใช้


 

สามารถสั้งซื้อได้ที่ https://www.facebook.com/makarn.hardware

cr. www.payarad.com

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

เคล็ดลับเลือกแปรงทาสี

ไม่มีความคิดเห็น

เคล็ดลับเลือกแปรงทาสี

เคล็ดลับเลือกแปรงทาสี

เคล็ดลับเลือกแปรงทาสี


แปรงทาสี นั้นเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นอย่างหนึ่งสำหรับการทาสีทุกชนิดนะคะ วันนี้บล็อก นานาเคล็ดลับ มีวิธีการเลือกแปรงทาสีให้มีคุณภาพดี เหมาะสมกับการใช้งานมาฝากกันค่ะ เราลองมาดูวิธีเลือกแปรงทาสีกันนะคะ



                  ก่อนอื่นเวลาเลือกซื้อแปรงทาสี ให้ทดสอบขนแปรง โดยการกดขนแปรงลงกับฝ่ามือค่ะ หากขนแปรงที่กดนั้นเป็นรอยพับหรือขนแปรงไม่คืนรูปแสดงว่าแปรงทาสีอันนั้นมีขนแปรงที่ไม่ดี ควรเปลี่ยนไปเลือกใช้แปรงทาสีอันอื่น

ขนแปรงที่ทำมาจากวัสดุสังเคราะห์ เหมาะที่จะใช้กับสีผสมน้ำค่ะ ส่วนขนแปรงธรรมชาติควรนำมาใช้กับสีที่ผสมน้ำมัน เพราะจะทำให้การทาสีมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

หากต้องการใช้แปรงทาสีในการตกแต่งขอบคิ้ว หรือเป็นงานไม้ ก็ควรใช้แปรงทาสีที่มีขนาด 1-2 นิ้วค่ะ สำหรับพื้นที่ขนาดใหญ่ให้ใช้แปรงทาสีขนาด 3-5 นิ้ว

การเลือกแปรงทาสีที่คุณภาพดี สามารถสังเกตได้จากบริเวณปลายขนแปรงค่ะ ปลายขนแปรงที่ดีจะต้องแผ่ออกและแน่น ขนแปรงที่มากจะช่วยให้อุ้มสีได้มากขึ้น และในขณะที่ทาขนแปรงก็จะแผ่ออกทำให้การทำสีนั้นสวยงามได้สีสม่ำเสมอ เรียบเนียนเป็นเนื้อเดียวกันน่ะ
cr.http://nanakedlab.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

ทักษะการใช้และการเก็บรักษา เครื่องมือประเภทวัด

ไม่มีความคิดเห็น

ทักษะการใช้และการเก็บรักษา เครื่องมือประเภทวัด
ทักษะในการใช้และเก็บรักษาเครื่องมือวัด
        เครื่องมือวัด (Measuring Tool) คือ เครื่องมือสำหรับใช้ในการวัดเพื่อบ่งชี้บอกระยะหรือขนาดในการกำหนดตำแหน่ง ตรวจสอบระยะหรือขนาดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือความหนาของวัสดุชิ้นงาน ฯลฯ เครื่องมือวัดมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีลักษณะ รูปร่างที่แตกต่างกันตามประโยชน์ใช้สอบในทางช่างนั้น ๆ สำหรับเครื่องมือวัดที่ใช้ในทางช่าง  ที่ตัวเครื่องมือวัดมีหน่วยมาตรฐานการวัดมีหน่วยเป็นนิ้ว ฟุตและหน่วยเมตริกกำกับไว้ในเครื่องมือวัดชนิดเดียวกันเพื่อสะดวกในการใช้ งาน ดังนั้น ช่างไม้หรือช่างก่อสร้างควรเรียนรู้เรื่องหน่วยมาตรฐานการวัดและเครื่องมือ วัดที่สำคัญ ดังนี้         • บรรทัดเหล็กหรือฟุตเหล็ก (Steel Rule)         • ตลับเมตร (Tape Rule)         • ฉาก (Squares)
        • ระดับน้ำ (Level)
หน่วยการวัด         ก่อนการใช้เครื่องมือวัด ผู้ใช้ต้องแน่ใจว่าสามารถอ่านค่าหน่วยต่าง ๆ ที่กำหนดไว้บนเครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้อง สำหรับหน่วยการวัดที่ระบุไว้ในเครื่องมือวัดที่ใช้ในงานช่างไม้ก่อสร้าง มีหน่วยการวัดแบ่งได้ 2 ระบบ ดังนี้ • ระบบเมตริก (Metric System of Measurement) • ระบบอังกฤษ (English System of Measurement)
ระบบเมตริก มีหน่วยการวัด ดังนี้ มิลลิเมตร ใช้อักษรย่อ มม. (mm.) ตัวอย่างเช่น 2 มม. อ่านว่า   ความยาวสองมิลลิเมตร เซนติเมตร ใช้อักษรย่อ ซม.(cm.) ตัวอย่างเช่น 10 ซม. อ่านว่า   ความยาวสิบเซนติเมตร เมตร ใช้อักษรย่อ ม. (m.) ตัวอย่างเช่น10 เมตร อ่านว่า  ความยาวสิบเมตร หน่วยของการวัดในระยะความยาว 1 เซนติเมตร (10 มม.)  และ (25.4 มิลลิเมตร = 1 นิ้ว)
ระบบอังกฤษ มีหน่วยการวัด ดังนี้        
1. นิ้ว ใช้เครื่องหมาย ( ” ) ตัวอย่างเช่น 1 ” อ่านว่า ความยาวหนึ่งนิ้ว         2. ฟุต ใช้เครื่องหมาย ( ’ ) ตัวอย่างเช่น 4 ’ อ่านว่า ความยาวสี่ฟุต
การอ่านค่าระบบนิ้ว

หลักการแบ่งสเกลของระบบอังกฤษ มี 4 แบบคือ
1 นิ้วแบ่งเป็น 8 ช่อง
1 ช่องเท่ากับ เศษ 1 ส่วน  8 นิ้ว
ระยะ ก อ่านได้ เศษ 13 ส่วน 16 นิ้ว
ระยะ ข อ่านได้ 1 เศษ 1 ส่วน 16  = 1 นิ้ว ครึ่งหุน
ระยะ ค อ่านได้ 1 เศษ 7 ส่วน 16  = 1 นิ้ว 3 หุนครึ่ง              
ระยะ ง อ่านได้ 2 เศษ 5 ส่วน 8 นิ้ว = 2 นิ้ว 5 หุน              


1 นิ้วแบ่งเป็น 32 ช่อง
1 ช่องเท่ากับ 1 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ก อ่านได้ 3 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ข อ่านได้ 9 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ค อ่านได้ 1 เศษ 11 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ค อ่านได้ 1 เศษ 11 ส่วน 32 นิ้ว
ระยะ ง อ่านได้  2 เศษ 4 ส่วน 32 นิ้ว เท่ากับ 2 เศษ 1 ส่วน 8 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว 1 หุน

ตัวอย่างการอ่านสเกลการวัดจากเครื่องมือวัด

         การวัดความยาวเป็นนิ้วเป็นระบบอังกฤษ ปัจจุบันบ้านเราใช้ระบบ Metric หรือระบบ SI ที่วัดความยาวเป็นเมตร (มิลลิเมตร-เซนติเมตร) ผสมกันไป  
หนึ่งนิ้วก็แบ่งเป็นแปดส่วน ..... 1/8 นิ้ว
ภาษาช่างบ้านเรา ... เรียก 1 หุน        = 0.125 นิ้ว         = 3.175 มิลลิเมตร 1/4 นิ้ว ก็คือ 2/8 ... เรียก 2 หุน 3/8 นิ้ว ................ เรียก 3 หุน 1/2 นิ้ว ...............  เรียก 4 หุนบ้าง ครึ่งนิ้วบ้าง จากนั้น ก็ไปถึง 5 หุน 6 หุน 7 หุน ไม่มี 8 หุน เพราะ 8/8 = 1 นิ้ว ก็เรียก 1 นิ้ว ย่อยครึ่งของ 1/8 ไปที่ 1/16 ก็เรียก.................. ครึ่งหุน ถ้าย่อยครึ่งของ 1/16 ไปที่ 1/32 เรียก ............. หลี ครึ่งหุนหลี ก็คือ 3/32 นิ้ว

1.  ไม้บรรทัดเหล็กหรือฟุตเหล็ก  ใช้สำหรับวัดระยะสั้น ๆ และขีดเส้น


2.  ตลับเมตร  ใช้สำหรับวัดระยะ  ลักษณะเป็นตลับสี่เหลี่ยมขนาดพอจับมือ  ตัวตลับทำด้วยโลหะหรือพลาสติก  ส่วนแถบวัดทำด้วยเหล็กบางเคลือบสี  ปลายของแถบวัดมีขอเกี่ยวเล็ก ๆ ติดอยู่

การใช้ตลับเมตร
1.  มือหนึ่งจับปลายเทปแล้วดึงออกจากตลับ
2.  ใช้ขอปลายเทปเกี่ยวหัวไม้ที่ตรงและได้ฉาก
3.  ทำเครื่องหมายตามระยะที่ต้องการ
การบำรุงรักษา
1. ระวังรักษาขอเกี่ยวปลายเทปไม้ให้หัก
2. เมื่อปล่อยเส้นเทปกับที่เดิมค่อย ๆ ผ่อน  ถ้าปล่อยให้กลับเร็วเกินไปปลายขอที่เกี่ยว และคอยใช้มือประคองเส้นเทปก่อนที่ขอเกี่ยวจะไปกระทบกับตัวตลับ ซึ่งจะทำให้ขอเกี่ยวหลุดหรืคลาดเคลื่อนและอาจชำรุดเสียหาย 
3. การใช้ตลับเมตรที่ถนอมคือต้องไม่ดึงสายวัดออกมาจนสุด
4. ทำความสะอาดหลังเลิกใช้แล้วเก็บให้เป็นระเบียบ 
ทั้งนี้เราจะนำตลับเมตรไปวัดอะไรก็ได้ตามแต่เราต้องการ ขนาดที่นิยมใช้คือยาว 3.5 เมตร

3.  ฉาก  เป็นเครื่องมือวัดละเอียดที่ใช้ทางตรงหรือตั้งได้ฉากของงาน  รวมทั้งการวัดมุมต่าง ๆ  ฉากมีหลายชนิด 
        3.1 ฉากเหล็ก หรือฉากตาย (Try Square)
        คือเครื่องมือที่ใช้เพื่อวัดขนาดการสร้างมุมฉาก ตรวจสอบการได้ฉากของงานชนิดต่าง ๆ หรือใช้วัดขนาดความกว้าง ยาว ลึกของชิ้นงานที่มีขนาดเล็ก มีส่วนประกอบ 2 ส่วนคือ ใบฉาก และด้ามฉาก โดยทั้ง 2 ส่วนยึดติดกันเป็นมุม 90 องศา ความยาวของใบฉากมีตั้งแต่ 6 นิ้วขึ้นไป ซึ่งเป็นขนาดที่นิยมใช้ ที่ใบฉากทั้งสองด้านทุกขนาดมีมาตรส่วนเป็นนิ้ว และเซนติเมตร บอกกำกับไว้ วิธีการใช้งาน การใช้ฉากในงานช่างสามารถใช้งานในลักษณะงานดังต่อไปนี้         1. ใช้ในการวัดขนาด ฉากมีด้านทั้งสองของใบมีมาตราส่วนเป็นนิ้ว และเซนติเมตรกำกับไว้ฉะนั้นในการใช้ฉากวัดขนาดความกว้างยาวของงาน ใช้วิธีการวัดการวัดขนาดความกว้าง ยาวเหมือนกับการวัดด้วยไม้เมตร หรือตลับเมตร         2. ใช้ในการขีดเส้นฉาก เพราะฉากเหล็กมีลักษณะการประกอบเป็นมุมฉากอยู่แล้ว ดังนั้นการนำด้ามฉากไปแนบกับขอบที่เรียบชิ้นงานใด ทิศทางของใบฉากย่อมทำมุมได้ 90 องศาเสมอ ดังนั้นในการตัดไม้ให้ได้ฉากกับแนวข้างลำตัวไม้ เมื่อนำฉากมาแนบ การขีดเส้นตามแนวของใบฉากคือเส้นที่บอกให้ทราบถึงแนวตัดหัวไม้ได้ฉากเสมอ         3. การใช้ฉากเหล็กเพื่อตรวจสอบมุม 90 องศาของชิ้นงาน เป็นการตรวจสอบโดยนำฉากเหล็กไปแนบในจุดที่ตรวจสอบ แต่การตรวจสอบได้ความเที่ยงตรงมากน้อยแค่ไหนต้องตรวจสอบฉากก่อน  
การบำรุงรักษา         1.วางฉากลงบนโต๊ะปฏิบัติงานเบา ๆ และอย่างระมัดระวังเมื่อนำฉากเหล็กไปใช้ในแต่และครั้ง         2.ไม่ควรนำฉากเหล็กไปใช้งานลักษณะอื่น ที่นอกเหนือจากการวัด ขีดเส้น ตรวจสอบมุม วัดขนาดความยาวชิ้นงาน         3.ไม่ควรใช้ฉากในการดัน ที่จะเป็นผลให้จุดการยึดใบฉากกับด้ามฉากยึดกันไม่แน่น ยกเว้นเป็นการทำเพื่อดัดฉากให้ได้ 90 องศา         4.ทำความสะอาดฉากให้ปราศจากฝุ่นและทราย ก่อนเช็ดด้วยน้ำมันเครื่อง เพื่อกันสนิท         5. ไม่ใช้ด้ามฉากเคาะหรือตอกแทนค้อน
      6.  ระมัดระวังอย่าให้ฉากตกลงพื้นเพราะจะทำให้ฉากคลาดเคลื่อนจากความเที่ยงตรง
      7.เก็บฉากไว้ในที่เรียบ ไม่วางทับซ้อนกับเครื่องมือชนิดอื่น ซึ่งจะมีผลเสียต่อฉากจะบิดงอได้


ฉากตาย 


        3.2 ฉากเป็น  (Bevel Gauge) ใช้วัดมุมต่าง ๆ  นอกจากมุม  90  องศา  45  องศา  สามารถถอดแยกจากกันได้ ลักษณะเป็นด้ามไม้และพลาสติก และมีส่วนที่เป็นโลหะแบน หรือเรียกว่า ใบฉาก ยึดด้วยสกรูที่สามารถเป็นจุดหมุนในการวัดมุม สำหรับการตัดชิ้นงานไม้ บัวไม้ ไม้เข้ามุม เดือยไม้ และวัดองศาตามความต้องการ ความพิเศษของเครื่องมือช่างชนิดนี้ คือ สามารถวัดมุมได้เป็นองศาและสามารถแบ่งวงกลมออกเป็น 180 ส่วน สร้างมุม 360 องศา 90 องศา หรือ 1 ใน 4 ของวงกลมได้ด้วยเช่นกัน การใช้งานฉากเป็นให้เริ่มจากการหามุม จุดตัด หรือจุดยอดของมุมที่ต้องการวัด จากนั้นให้คลายสกรูที่ฉากเป็นแล้วเลื่อนส่วนใบฉาก เพื่อให้สามารถกดด้ามให้แนบกับข้างหนึ่งของมุม และให้ใบฉากแนบกับอีกด้านหนึ่งได้ จับด้ามและใบฉากให้แนบกับมุมตัวอย่างนั้น ขันสกรูให้แน่น นำฉากเป็นมาที่ชิ้นงานที่ต้องการนำเข้าไปติดตั้ง วางส่วนด้ามให้แนบกับด้านหนึ่ง แล้วลากเส้นไปตามขอบขอบใบฉาก เพื่อสร้างมุมที่มีขนาดเท่ากับมุมต้นแบบได้อย่างสมบูรณ์

ฉากเป็น

        3.3 ฉากปรับองศา

ใช้วัดมุมต่าง ๆ  นอกจากมุม  90  องศา  45  องศา  ลักษณะเป็นโลหะแบน ใบฉาก ยึดด้วยสกรูที่สามารถเป็นจุดหมุนในการวัดมุม และใช้ควบคู่กับเครื่องมือช่างที่ใช้ไฟฟ้าในการตัดชิ้นงาน และวัดองศาตามความต้องการ ความพิเศษของเครื่องมือช่างชนิดนี้ คือ สามารถวัดมุมได้เป็นองศาและสามารถ สร้างมุม 30 องศา ถึง 150 องศา


4. ระดับน้ำ (Level)

        ระดับน้ำ ใช้สำหรับวัดพื้นผิวว่าได้ระดับหรือไม่ มีหลอดแก้ว 3 หลอดวางไว้ตั้งฉากกัน และทแยง 45 องศา ลักษณะของเครื่องมือชนิดนี้จะเป็นอะลูมิเนียมหรือพลาสติก ยาวประมาณหนึ่งศอก มีช่องใส ๆ หลายช่อง แต่ละช่องจะมีหลอดแก้ว ที่มีของเหลวที่มีสีอยู่ข้างใน ในของเหลวนั้นจะมีฟองอากาศขนาดเท่าเมล็ดถั่ว เมื่อลองขยับระดับน้ำดู จะสังเกตเห็นว่าฟองอากาศนั้นจะเคลื่อนที่ไปด้วย ซึ่งระดับน้ำนั้นมีอยู่หลายขนาด โดยส่วนใหญ่ใช้ขนาด 24 นิ้ว (60 เซนติเมตร) ใช้ขนาด 4 ฟุต(1.2 เมตร) หรือ 6 ฟุต (1.8 เมตร) สำหรับประตูและหน้าต่าง ระดับน้ำแบบที่มีตาวัว (แป้นวงกลม) ใช้แสดงทิศทางของการเอียง การใช้งานเครื่องมือช่างดังกล่าวให้ดูที่ระดับน้ำ ว่าหลอดแก้วหลอดไหนใช้วัดระดับในแนวราบและหลอดไหนวัดแนวดิ่ง วางระดับน้ำลงบนพื้นผิวที่ต้องการตรวจสอบ ดูที่ฟองอากาศ ถ้าฟองอากาศลอยไปอยู่ที่ตรงกลางของหลอดแก้วแสดงว่าพื้นได้ระดับในแนวราบแล้ว แต่ถ้าฟองอากาศไม่อยู่ตรงกลาง แสดงว่าพื้นเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง ถ้าต้องการรู้ว่าเอียงทางใดและเอียงมากแค่ไหน ให้ลองยกปลายของระดับน้ำขึ้นด้านหนึ่ง แล้วดูว่าฟองอากาศเลื่อนไปทางไหน เมื่อฟองอากาศอยู่ตรงกลาง จะเห็นว่ามีช่องว่างระหว่างพื้นกับขอบของระดับแล้ว จะเห็นว่าเอียงมากเพียงใด หากพื้นได้ระดับแนวราบแล้ว ให้หมุนระดับน้ำไปที่ 90 องศา แล้วตรวจดูอีกครั้ง จะพบว่าพื้นอาจจะได้ระดับในด้านหนึ่ง แต่เอียงในอีกด้านหนึ่ง ถ้าพื้นได้ระดับจริง ๆ ในทุกทิศทาง ฟองอากาศจะต้องอยู่ตรงกลางหลอดแก้วเสมอ ไม่ว่าจะหมุนระดับน้ำไปทางใดก็ตาม

เทคนิคการใช้ไม้บรรทัดวัดและการวัด
      การใช้เครื่องมือประเภทวัด ชนิดต่างๆ นั้นมีเทคนิคและวิธีการใช้งานที่แตกต่างกันตามลักษณะงานดังนี้

ขั้นตอนที่ 1
หากต้องการตีเส้นที่คมและเส้นเล็ก ควรเลือกใช้ดินสอที่เหลา ปลายแหลมหรือใช้เหล็กแหลม สำหรับงานที่ต้องการความละเอียด  
  
ขั้นตอนที่ 2
การขีดเส้นตามแนวของไม้บรรทัด จะต้องกดให้ไม้บรรทัดหรือเหล็กพุกนั้น แนบกับผิว ของชิ้นงานโดยกดไม้บรรทัดด้วยนิ้วให้แน่นแล้วจึงขีดเส้น แนบกับ บรรทัดตามแนว ตั้งฉากกับชิ้นงาน

ขั้นตอนที่ 3
การแบ่งส่วนของหน้าไม้ให้เท่ากัน นั้นสามารถจัดระยะได้ด้วยการทาบ ไม้บรรทัดลง ตามหน้าไม้ ขยับให้ได้ตัวเลขที่จำนวนเต็มพอดี ตามที่เราต้อง การแบ่งส่วน แล้วจึงทำ เครื่องหมายระยะที่หารลงตัวก็จะได้ช่องไฟที่เท่ากัน 

ขั้นตอนที่ 4
หากต้องการขีดเส้นให้ใด้ฉากในงานเฟอร์นิเจอร์ การขีดเส้นบนไม้นั้นจะใช้ฉากทาบกับ ส่วนหนาของหน้าไม้ให้สนิทกัน จะขีดได้เส้นที่ตั้งฉากกับไม้     

ขั้นตอนที่ 5
การตรวจสอบดูว่าไม้ที่กำลังใช้อยู่นั้น ได้ฉากตามที่ต้องการหรือไม่ / ต้องการตรวจดูว่าไม้นั้นเรียบเท่ากันทั้งแผ่นหรือไม่ สามารถใช้ฉากนั้นทาบกับตัวไม้วัดดูในการวัดนั้นให้ขอบของฉากวัดแนบสนิทกับไม้อีกด้านหนึ่ง ส่องผ่านแสงดูว่ามีช่องว่างอยู่ตรงไหน นั้นคือส่วนที่เกินออกมาไม่ได้ฉาก และไม่เรียบต้อง ไสออก 

ขั้นตอนที่ 6
วิธีการขีดเส้นให้ห่างจากขอบเท่ากันนั้น สามารถทำได้ด้วยการใช้ฉากแบบปรับระยะได้วัดขนาดของเส้นขอบที่ต้องการขีด แล้วลากเส้นตามขนาดที่ทำ เครื่องหมายไว้ โดยให้ขอบของฉากแนบกับหน้าไม้    

ขั้นตอนที่ 7
ฉากประเภทปรับมุมมีขนาดองศาบอก ความเอียงนั้นเหมาะสำหรับการทำงานประเภท วัดมุมของชิ้นไม้ ในกรณีไม่เป็นมุมฉาก หรือใช้สำหรับการร่างแบบ  
    
ขั้นตอนที่ 8
ฉากปรับมุมอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถที่จะปรับให้ไม้ฉากนั้นทำมุมนอกจากมุมฉาก(90องศา) ได้ด้วยการ หมุนคลายล็อคที่จุดหมุน แล้วเอียงตัวไม้บรรทัดให้เอียงตาม มุมที่ต้องการแล้วจึงหมุนล็อคก่อนนำไปขีดเส้นมุมนั้นๆ

ขั้นตอนที่ 9
การกำหนดขนาดความกว้างของรูเดือยที่จะนำมาเจาะทำเดือยเฟอร์นิเจอร์ สามารถทำได้ด้วยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า ขอขีดไม้ โดยนำสิ่วที่เจาะรู เดือยมาทาบความกว้างของหน้าสิ่ว ปรับตั้งให้เข็มขีดเส้นใหญ่กว่าเล็กน้อย แล้วจึงค่อยหมุนล็อค ส่วนการนำไปใช้งานให้ทาบส่วนที่เรียบเข้ากับหน้าไม้       

5. ขอขีดไม้ (Marking Gauge)

           ขอขีดไม้ เป็นเครื่องมือช่างที่ใช้สำหรับการสร้างรอยขีดที่ขนานกับขอบนชิ้นงาน ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ขีดชิ้นงานอื่นๆ ให้มีขนาดเท่ากันได้หลายชิ้น เครื่องมือชนิดนี้มีลักษณะเป็นชิ้นไม้ที่ตั้งฉากกัน ส่วนปลายมีโลหะแหลมที่เรียกว่า ขา (Beam) ต่อยื่นออกมา ชิ้นไม้ชิ้นที่สองเราเรียกว่าส่วนหัว ซึ่งจะมีสกรูแบบที่มีหางปลาติดอยู่ เมื่อคลายสกรูออก จะสามารถเลื่อนตำแหน่งของหัวไปบนขาได้ แต่ถ้าขันสกรูให้แน่น ก็จะเป็นการล็อคตำแหน่งนั่นเอง การใช้งานเครื่องมือช่างชนิดนี้ เริ่มด้วยการคลายสกรู และเลื่อนส่วนหัวของขอขีดให้ได้ตามระยะที่ต้องการ แล้วจึงขันสกรู ถือขอขีดที่ส่วนหัวให้ส่วนของขาอยู่ในแนวระดับ และเริ่มทำการขีดจากปลายด้านที่อยู่ไกลก่อน กดให้หน้าของหัวขอขีดแนบอยู่กับขอบไม้ แล้วบิดส่วนหัว เพื่อให้ปลายแหลมของขอขีดแตะกับไม้ โดยที่ยังคงให้ส่วนหัวแนบอยู่กับชิ้นงาน และดึงขอขีดเข้ามาหาตัว สุดท้ายตรวจสอบดูชิ้นงานว่าได้รอยขีดตามที่ต้องการหรือไม่
ประโยชน์ของขอขีดไม้
ขอขีดไม้ จะช่วยทำครื่องหมาย วัดได้รวดเร็วและแม่นยำ โดยการขีดเครื่องหมายบรรทัดขนานไปที่ขอบของชิ้นงานไม้  ซึ่งขอขีดไม้นี้ยังมีประโยชน์มากกว่าดินสอไม้ในแง่ที่มีปลายเหล็กแหลมเป็นตัวช่วยทำตำแหน่งได้ชัดเจน
การใช้ขอขีด
คลายสลักหรือลิ่มออก แล้ววัดระยะห่างจากปลายเข็มกับด้ามให้ขนานตามที่แบบกำหนดแล้วล๊อคให้แน่น จับขอขีดด้านที่มีเข็มให้แนบสนิทกับไม้ กดดันไปข้างหน้า ให้ปลายเข็มขีดผิวไม้ ตลอดแนวที่ต้องการ

 การบำรุงรักษา
1. ควรทำความสะอาดหลังใช้
2. ทาน้ำมันส่วนที่เป็นโลหะ
3. เก็บให้เรียบร้อย

ศึกษาข้อมูลภาพประกอบได้ที่ >>> http://www.sinudom.com/do_it.php

















ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

เคล็ดลับถนอมลูกกลิ้งและแปรงทาสี ให้ใช้ได้นาน ๆ

ไม่มีความคิดเห็น
เคล็ดลับถนอมลูกกลิ้งและแปรงทาสี ให้ใช้ได้นาน ๆ



           ใครที่อยากประหยัดงบประมาณสร้างบ้าน และอยากลองทาสีบ้านด้วยตัวเอง ก็แน่นอนว่าน่าจะเตรียมหาอุปกรณ์ทาสีบ้านบางส่วนเอาไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลัก ๆ ก็ต้องมีสีทาบ้าน ลูกกลิ้งทาสี และแปรงทาสีใช่ไหมคะ แล้วก่อนปฏิบัติการทาสีบ้านกับมือตัวเอง คุณ ๆ รู้วิธีใช้ลูกกลิ้งทาสีกันแล้วหรือยัง ซึ่งหากยังไม่รู้วันนี้เราก็มีวิธีใช้ลูกกลิ้งทาสีบ้านมาบอกต่อ และแอบมีเคล็ดลับถนอมแปรงทาสีบ้านให้ใช้ไปได้นาน ๆ เป็นของแถมให้อีกด้วยจ้า ว่าแล้วก็มาเตรียมโชว์ฝีมือทาสีบ้านด้วยตัวเองกันเลย !
ตัดขอบลูกกลิ้งให้เรียบเสมอกัน
           ถ้าสังเกตลูกกลิ้งทาสีตอนซื้อมาใหม่ ๆ เราจะเห็นขุยผ้าบริเวณขอบลูกกลิ้งฟูยื่นออกมาเป็นส่วนเกิน ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนที่เราจำเป็นต้องกำจัดออกไปค่ะ เพราะไม่อย่างนั้นการทาสีบ้านของเราจะเปรอะไปด้วยสีที่ขนส่วนเกินสะบัดไปโดน ทำให้ผนังบ้านกระดำกระด่างโดยไม่ได้ตั้งใจ ส่วนวิธีตัดเล็มลูกกลิ้งก็ทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่ใช้กรรไกรค่อย ๆ เล็มขุยบริเวณขอบลูกกลิ้งออกให้หมด จนเหลือแค่ส่วนขนที่อัดแน่นอยู่กับแกนลูกกลิ้งเท่านั้น
เลือกใช้อุปกรณ์ให้ถูกกับหน้างาน
           สำหรับพื้นที่กว้าง คุณสามารถใช้ลูกกลิ้งทาสีละเลงสีให้ทั่วได้เลย แต่ถ้าเป็นขอบ หรือมุมผนัง แนะนำให้เลือกใช้แปรงทาสีจะดีกว่าค่ะ เนื่องจากแปรงมีขนาดเล็ก และขนแปรงก็มีประสิทธิภาพในการซอกซอนไปตามพื้นที่ต่าง ๆ ได้ดีกว่าด้วย และหากว่าคุณเผลอละเลงแปรงเปรอะเปื้อนไปบ้างก็ไม่ต้องกังวล ให้แก้ปัญหาโดยใช้ลูกกลิ้งทาสีทับลงไปอีกชั้นก็หมดปัญหา
หนีบคลิปป้องกันขนแปรงเสียรูป
           ถ้าคุณเจอปัญหาขนแปรงชนกับพื้นกระป๋องที่ใส่น้ำสำหรับจุ่มหัวแปรงจนเสียรูปไปหมด ลองใช้คลิปหนีบกระดาษอันใหญ่ ๆ มาหนีบที่ฐานแปรงดูสิคะ แล้วพอจะจุ่มหัวแปรงป้องกันแปรงแข็ง ก็กางขาคลิปหนีบกระดาษออก แค่นี้แปรงทาสีก็จะลอยอยู่เหนือก้นกระป๋องแล้วล่ะ
กำจัดขุยลูกกลิ้งทาสี
           ลูกกลิ้งทาสีที่ผ่านการใช้งานมาสักระยะ อาจจะมีขุยขึ้นมาบนหัวแปรงได้ ซึ่งเพื่อความเรียบเนียนของการทาสีบ้าน เราก็ปล่อยขุยเหล่านี้ให้ลอยนวลไม่ได้เด็ดขาดค่ะ แต่จะกำจัดขุยลูกกลิ้งทาสีอย่างไรดีล่ะ ? บอกง่าย ๆ ตรงนี้เลยว่า ให้คุณใช้ลูกกลิ้งกำจัดขนสัตว์ที่มีขายตามร้านค้าทั่วไป ในสนนราคาไม่เกิน 100 บาท นำมาถูให้ทั่วลูกกลิ้งทาสีบ้าน แค่นี้ขุยที่มีอยู่ก็หายเรียบ !



ทำความสะอาดแปรง และลูกกลิ้งทาสีทันทีหลังใช้งาน
           เราน่าจะรู้กันดีว่า สีทาบ้านที่เกาะติดแปรง หรือลูกกลิ้งทาสีมีความเหนียว และติดทนขนาดไหน ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ สีทาบ้านก็จะแห้งแข็ง เกาะติดแปรงและลูกกลิ้งทาสีแน่นหนึบ คราวนี้จะทำความสะอาดก็คงไม่ง่ายนักแล้วล่ะค่ะ แถมถ้าขัดทำความสะอาดแรง ๆ ก็เสี่ยงที่แปรง และลูกกลิ้งทาสีจะชำรุดง่าย ๆ เลยด้วย ฉะนั้นหลังใช้งานแปรง และลูกกลิ้งทาสีเสร็จ ให้ปาดแปรง และลูกกลิ้งกับหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษที่ไม่ใช้แล้ว เพื่อกำจัดสีบางส่วนออกก่อน จากนั้นให้จุ่มอุปกรณ์ทาสีลงไปในถังน้ำอุ่น แล้วแกว่งแปรงกับลูกกลิ้งเบา ๆ เพื่อคลายโมเลกุลสีที่เกาะติดอยู่ให้เบาบางลง
หวีแปรงไล่สีสักหน่อย
           แม้ว่าจะปาดสีออกไปก็แล้ว แกว่งล้างแปรงและลูกกลิ้งในน้ำอุ่นก็แล้ว แต่ก็ยังมีสีทาบ้านเกาะติดขนแปรงอยู่อีกเยอะเลยนะคะ แต่ไม่ต้องกลุ้มใจไปค่ะ เพราะเรายังมีเคล็ดลับกำจัดสีออกจากแปรงมาบอกอีกอย่าง นั่นก็คือ ให้คุณใช้หวีเหล็กสางขนแปรงทาสีเบา ๆ ในระหว่างที่ล้างแปรงทาสีกับน้ำไหลผ่าน เสร็จแล้วค่อยนำแปรงทาสีไปทำความสะอาดอย่างจริงจังอีกครั้ง
ทำความสะอาดแปรงทาสีด้วยแปรงกอล์ฟคลับ
           หลายคนใช้งานแปรงทาสีบ้านแค่ครั้งเดียวแล้วก็ทิ้ง เพราะขี้เกียจทำความสะอาดแปรงทาสีที่เปื้อนสีหนาเตอะ ดูทำความสะอาดยากจะตายเนอะ แต่ครั้งต่อไปที่ทาสีบ้าน เราไม่ต้องใช้แปรงแล้วทิ้งให้สิ้นเปลืองโดยไม่จำเป็นอีกแล้วล่ะค่ะ เพราะเราสามารถทำความสะอาดแปรงทาสีบ้านใช้แล้วง่าย ๆ ด้วยการอาศัยแปรงกอล์ฟคลับเป็นตัวช่วย เริ่มจากเปิดก๊อกน้ำเบา ๆ ให้น้ำไหลผ่านแปรงทาสีเรื่อย ๆ พร้อมกันนั้นก็ใช้แปรงกอล์ฟคลับขัดถูแปรงทาสีได้ตามสบายเลย ซึ่งตรงนี้คุณสามารถใช้ได้ทั้งแปรงกอล์ฟคลับชนิดขนแปรงพลาสติก และแปรงกอล์ฟคลับชนิดขนแปรงลวดทองแดงเลยนะจ๊ะ
เก็บแปรงด้วยการแขวน
           ขนแปรงค่อนข้างอ่อนไหวกับพื้นแข็ง ๆ ดังนั้นเพื่อรักษารูปทรงขนแปรงให้ตรง และใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพนาน ๆ ก็ควรเก็บแปรงด้วยการแขวนตาก โดยคุณจะทำราวแขวนแปรงขึ้นมาโดยเฉพาะ (ในกรณีที่มีแปรงทาสีหลายขนาด) หรือจะห้อยแปรงไว้ที่ตะขอบนผนังก็แล้วแต่สะดวกจ้า

           ใครที่อยากทาสีบ้านด้วยตัวเอง เพื่อช่วยประหยัดสตางค์ในกระเป๋า ก็อย่าลืมดูแลรักษาแปรงทาสี และลูกกลิ้งทาสีที่เราแนะนำด้วยนะคะ ครั้งต่อไปที่อยากทาสีบ้านอีกครั้ง จะได้ไม่ต้องซื้ออุปกรณ์ทาสีใหม่ให้เปลืองเงิน ประหยัดคูณสองเลยจ้า







- ขนแปรงลูกกลิ้ง 7 นิ้ว ลายเสือ ราคา 50 บาท/ชิ้น
- ขนแปรงลูกกลิ้ง 10 นิ้ว ลายเสือ ราคา 55 บาท/ชิ้น
- ขนแปรงลูกกลิ้ง 4นิ้ว สีเหลืองน้ำเงิน ราคา 25 บาท/ชิ้น

- ขนแปรงลูกกลิ้ง 4นิ้ว ลายเสือ ราคา 20 บาท/ชิ้น
- ขนแปรงลูกกลิ้ง 4นิ้ว สีขาวขนละเอียด ราคา 25 บาท/ชิ้น
- ขนแปรงลูกกลิ้ง 4นิ้ว สีขาวเหลือง ราคา 18 บาท/ชิ้น

- แปรงลูกกลิ้ง ลายเสือ 7 นิ้ว 29 cm ราคา 75 บาท/ชิ้น
- แปรงลูกกลิ้ง ลายเสือ 10 นิ้ว 31 cm ราคา 95 บาท/ชิ้น

CR.www.kapook.com

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น

กระดาษทราย Sandpaper

ไม่มีความคิดเห็น





กระดาษทราย (อังกฤษSandpaper) คือกระดาษรูปแบบหนึ่งซึ่งมีสารขัดถูติดหรือเคลือบอยู่บนหน้าของกระดาษ ใช้สำหรับขัดพื้นผิวของวัสดุอื่นเพื่อให้วัสดุนั้นเรียบ หรือขัดให้ชั้นพื้นผิวเก่าหลุดออก หรือบางครั้งอาจทำให้พื้นผิวขรุขระมากขึ้นเพื่อเตรียมการติดด้วยกาว เป็นต้น


ประวัติ
กระดาษทรายเริ่มมีใช้ครั้งแรกในประเทศจีนตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 13 กระดาษทรายในยุคนั้นทำจากเปลือกหอยบดละเอียด เมล็ดพืช และทราย ติดไว้บนหนังสัตว์ด้วยยางธรรมชาติ บางครั้งมีการใช้ผิวของปลาฉลามแทนกระดาษทราย เดิมกระดาษทรายรู้จักกันในชื่อ กระดาษแก้ว เนื่องจากใช้กากของแก้วเป็นส่วนประกอบ (มิใช่กระดาษแก้วในปัจจุบัน)
เกล็ดหยาบบนฟอสซิลของปลาซีลาแคนท์ (Coelacanth) ซึ่งเป็นปลาดึกดำบรรพ์ที่เกือบจะสูญพันธุ์ เคยถูกใช้เป็นกระดาษทรายโดยชนพื้นเมืองในประเทศคอโมโรส
กระดาษทรายถูกผลิตขึ้นด้วยเครื่องจักรเป็นครั้งแรกโดยบริษัทของจอห์น โอคีย์ (John Oakey) ในลอนดอนเมื่อ พ.ศ. 2376 (ค.ศ. 1833) ซึ่งได้พัฒนาเทคนิคและกระบวนการยึดติดของสารขัดถูสำหรับการผลิตในปริมาณมาก ส่วนกระบวนการผลิตกระดาษทรายด้วยเครื่องจักรได้รับการจดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกาเมื่อ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2377 (ค.ศ. 1834) โดยไอแซก ฟิสเชอร์ จูเนียร์ (Isaac Fischer Jr.) จากเมืองสปริงฟิลด์ รัฐเวอร์มอนต์
ในปี พ.ศ. 2459 (ค.ศ. 1916) สามเอ็ม (3M) ได้คิดค้นกระดาษทรายกันน้ำภายใต้ยี่ห้อ Wetordry™ และการใช้งานครั้งแรกนั้นเพื่อตกแต่งการทาสี

กระดาษทราย ( Sand Paper ) เป็นวัสดุที่จำเป็นอีกชิ้นหนึ่ง สำหรับงานทำสี ที่ขาดไม่ได้เลยทีเดียว ตัวแผ่นการะดาษทรายจะใช้ด้วยมือของเราโดยตรง  หรือ ใส่ประกอบกับเครื่องขัดก็ได้ เพื่อวัสถุประสงค์ในการขัดสีเดิม สีโป๊ หรือสีพื้น ออกให้เรียบ
     วัสดุที่ใช้ทำ กระดาษทราย พื้นของกระดาษทรายทำจากกระดาษกันน้ำ ผ้า หรือ แผ่นไฟเบอร์ ส่วนผงขัดที่ติดกับกระดาษ ทำมาจากวัสดุที่แข็ง เช่น ซิลิโคน  คาร์ไบด์ ซึ่งมีคุณสมบัติบัติ ในการเกาะเซาะผิว ชิ้นงานได้ดี เหมาะกับผิวสีที่มีความแข็งไม่มากนัก  ส่วนผงที่ทำจาก อลูมิเนียมอ๊อกไซด์ จะเป็นวัสดุที่มีความหนาแน่นสูง จึงเหมาะกับพื้น ผิวสี ที่แข็ง

ประเภทของเบอร์กระดาษทราย
เบอร์ กระดาษทราย ด้านหลังของแผ่น กระดาษทราย จะมีเลขหรือรหัส เป็นตัวบ่งบอกถึง ความหยาบหรือละเอียดของผิว ผงวัสดุที่ติดอยู่ที่ กระดาษทราย  ตัวเลขยิ่งมาก จะยิ่งละเอียดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมที่เราจะนำไปใช้งาน


JIS
#16
#24
#60
#80
#120
#180
#240
#320
#600
#1000
#2000
ANSI
16
24
60
80
120
220
240
320
600
-

FEPA
P16
P24
P60
P80
P120
P220
-
P240
P500
P1200


 ขัดสนิม

 ขัดสีพื้น
ขัดเม็ดสี 
  การขึ้นรูป สีโป๊ขัดเรียบสีโป๊   
ขัดลอกผิวสีขัดลบขอบผิวสีขัดผิวสี




 


-กระดาษทรายกลม NO. 36 ราคา 20฿/ใบ
-กระดาษทรายกลม NO. 40 ราคา 20฿/ใบ
-กระดาษทรายกลม NO. 60 ราคา 20฿/ใบ
-กระดาษทรายกลม NO. 80 ราคา 20฿/ใบ
-กระดาษทรายกลม NO. 100 ราคา 20฿/ใบ
-กระดาษทรายกลม NO. 120 ราคา 20฿/ใบ


-กระดาษทรายกลมตีนตุ๊กแก NO. 36 ราคา 15฿/ใบ
-กระดาษทรายกลมตีนตุ๊กแก NO. 40 ราคา 15฿/ใบ
-กระดาษทรายกลมตีนตุ๊กแก NO. 60 ราคา 15฿/ใบ
-กระดาษทรายกลมตีนตุ๊กแก NO. 80 ราคา 15฿/ใบ
-กระดาษทรายกลมตีนตุ๊กแก NO. 100 ราคา 15฿/ใบ
-กระดาษทรายกลมตีนตุ๊กแก NO. 120 ราคา 15฿/ใบ


-กระดาษทรายสายพาน NO. 36 ราคา 45฿/ใบ
-กระดาษทรายสายพาน NO. 40 ราคา 45฿/ใบ
-กระดาษทรายสายพาน NO. 60 ราคา 45฿/ใบ
-กระดาษทรายสายพาน NO. 80 ราคา 45฿/ใบ
-กระดาษทรายสายพาน NO. 100 ราคา 45฿/ใบ
-กระดาษทรายสายพาน NO. 120 ราคา 45฿/ใบ


-กระดาษทรายซ้อน หลังแข็ง NO. 40 ราคา 55฿/ใบ
-กระดาษทรายซ้อน หลังแข็ง NO. 60 ราคา 55฿/ใบ
-กระดาษทรายซ้อน หลังแข็ง NO. 80 ราคา 55฿/ใบ
-กระดาษทรายซ้อน หลังแข็ง NO. 100 ราคา 55฿/ใบ
-กระดาษทรายซ้อน หลังแข็ง NO. 120 ราคา 55฿/ใบ


-กระดาษทรายซ้อน หลังอ่อน NO. 40 ราคา 55฿/ใบ
-กระดาษทรายซ้อน หลังอ่อน NO. 60 ราคา 55฿/ใบ
-กระดาษทรายซ้อน หลังอ่อน NO. 80 ราคา 55฿/ใบ
-กระดาษทรายซ้อน หลังอ่อน NO. 100 ราคา 55฿/ใบ
-กระดาษทรายซ้อน หลังอ่อน NO. 120 ราคา 55฿/ใบ











www.payarad.com

แหล่งที่มา:http://th.wikipedia.org/ , misterpainting

ไม่มีความคิดเห็น :

แสดงความคิดเห็น